OEM ODM OBM คืออะไร?
OEM ย่อมาจาก Origianl Equipment Manufacturer หมายถึงการรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด โดยใช้การผลิตของเรารวมถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตด้วย มักจะเป็นโรงงานเปิดใหม่ ๆ หรือโรงงานที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ของตนเอง และโรงงานที่ไม่มีความชำนาญในการออกแบบผลิตภัณฑ์
ODM ย่อมาจาก Original Design Manufactuere หมายถึงการผลิตของโรงงานที่มีรูปแบบการพัฒนาดีไซน์ รูปแบบสินค้าได้เอง และเอาสินค้าเหล่านั้นไปเสนอขายให้ลูกค้าของเค้าอีกทีหนึ่ง มักจะเป็นโรงงานที่พัฒฯมาจาก OEM ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ด้วยดีไซน์ ซึ่งดีไซน์เหล่านี้จะเป็น Exclusive หรือ non exclusive ก็ได้ (อ้าว เจอศัพท์อีกคำล่ะ exclusive design หมายถึง แบบที่ผลิตให้กับลูกค้ารายใดรายหนึ่งเฉพาะเท่านั้น ซึ่งหากเราออกแบบแล้วขายให้กับลูกค้ารายใหญ่ ๆ เค้าก็มักจะขอให้เป็น Exclusive Design เพระไม่ต้องการซ้ำกับใคร ๆ)
OBM ย่อมาจากคำว่า Original Brand Manufacturer หมายถึงการผลิตที่มีการสร้างแบรนด์ของตัวเอง เป็ฯโรงงานที่พัฒนาได้เต็มที่แล้ว ทำให้ไม่ต้องง้อลูกค้ามากนัก ถ้าจะซื้อสินค้า ก็ต้องซื้อภายใต้แบรนด์เราเท่านั้น อันนี้เป็นสุดยอดปรารถนาของทุกโรงงานครับ
สิทธิการใช้งานประเภทติดตั้งมาจากโรงงาน (OEM License) เป็นสิทธิการใช้ซึ่งจำหน่ายให้กับผู้ผลิตและผู้ประกอบคอมพิวเตอร์ สำหรับการติดตั้งไปพร้อมกับการจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ ลูกค้าไม่สามารถขอซื้อสิทธิการใช้งานแบบ OEM แยกต่างหากได้
สิทธิการใช้งานประเภทติดตั้งมาจากโรงงาน (OEM)
* ซอฟต์แวร์แบบ OEM จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับเครื่อง PC หรือเซิร์ฟเวอร์ที่จำหน่ายเท่านั้น
* ไม่สามารถย้ายซอฟต์แวร์ OEM จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นได้ แม้จะไม่มีการใช้คอมพิวเตอร์
เครื่องเดิมแล้วก็ตาม แต่สิทธิในการใช้ของซอฟต์แวร์แบบ OEM อาจถูกกำหนดใหม่ หากมีการซื้อ Software Assurance เพิ่มเติมภายใน 90 วันหลังจากการซื้อสิทธิแบบ OEM
* ซอฟต์แวร์ถูกจำกัดการใช้ด้วย Product ID Key หรือผ่านการเปิดใช้ทางเว็บหรือทางโทรศัพท์ (โดยปกติจะถูกเปิดใช้งานล่วงหน้าโดยผู้จัดทำระบบ)
* สิทธิแบบ OEM อาจมี Software Assurance ที่ซื้อภายใต้โปรแกรม Volume Licensing
สิทธิการใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Desktop แบบเต็มจะจำหน่ายในรูปแบบ FPP หรือ OEM เท่านั้น โดยแบบ OEM จะมีราคาถูกกว่ามาก ส่วนโปรแกรม Volume License จะมีเฉพาะการอัพเกรดระบบปฏิบัติการ Windows Desktop เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ต้องมีสิทธิแบบ OEM หรือ FPP ของ Windows อยู่ก่อนแล้ว จึงจะสามารถอัพเกรดได้